ไดโอด
ไดโอด (diode) เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ชนิดสองขั้ว ที่ออกแบบและควบคุมทิศทางการไหลของประจุไฟฟ้า มันจะยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลในทิศทางเดียว และกั้นการไหลในทิศทางตรงกันข้าม ทำมาจากสารกึ่งตัวนำ (Semiconductor diode) สองชนิด คือชนิด P
(P หรือ + ) และ ชนิด N (N หรือ - ) ประกอบด้วยขั้วสองขั้ว คือ ขั้วแอโนด ต่ออยู่กับสารกึ่งตัวนำชนิด P และขั้วแคโทด ต่ออยู่กับสารกึ่งตัวนำชนิด N
ไดโอด แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
1.ไดโอดธรรมดา(Normal Diode)ทำจากสารกึ่งตัวนำ มีสองขั้ว มีรูปร่างหลายแบบ แต่ที่นิยมใช้ในวงจรอิเล็กทรอนิกส์ จะมีลักษณะคล้ายตัวต้านทาน ซึ่งมีขนาดเล็ก ทำน้าที่ควบคุมการไหลของกระแสไฟฟ้าให้ไหลไปในทางเดียวคือกระแสไฟฟ้าจะไหลผ่านไดโอดได้ถ้าต่อขั้ว P กับขั้วบวก และต่อขั้ว N กับขั้วลบ แต่ความต้านทานของไดโอดจะไม่คงที่ เพราะความสัมพันธ์ระหว่าง กระแส กับความต่างศักดิ์ที่คร่อมไดโอดไม่เป็นเส้นตรง กระแสไฟฟ้าจะไม่สามารถไหลผ่านไดโอด ถ้าขั้ว P ต่อกับขั้วลบ และต่อขั้ว N ต่อกับขั้วบวก เนื่องจากไดโอดมีความต้านทานสูงมาก
ไดโอดธรรมดา มีหน้าที่ควบคุมการไหลของกระแสไฟฟ้าให้ไหลไปในทางเดียว หากมีการต่อวงจรผิด กระแสไฟฟ้าจะไม่สามารถไหลได้ จึงเปรียบเสมือนอุปกรณ์ป้องกันชิ้นส่วน
อิเลกทรอนิกส์ไม่ให้เกิดความเสียหายจากกระแสไฟฟ้า
2. ไดโอดเปล่งแสง(Light Emitting Diode)
ไดโอดเปล่งแสง ใช้ตัวย่อ LED ผลิตจากสารกึ่งตัวนำชนิด P และ ชนิดN ต่อชนกัน
เช่นเดียวกับไดโอดธรรมดา มีขาต่อออกมาใช้งาน 2 ขา คือ ขาแอโนดและขาแคโทด ไดโอดเปล่งแสงสามารถผลิตมาจากสารหลายชนิดทั้งของแข็ง ของเลว และแก๊ส
ไดโอดเปล่งแสง หรือ LED นั้นขาทั้งสองจะยาวไม่เท่ากัน ขาที่สั้นกว่าจะเป็นขั้วลบและขาที่ยาวกว่าเป็นขั้วบวก ถ้าสังเกตส่วนที่อยู่ภายในครอบพลาสติกจะเห็นว่าปลายขาลบใหญ่กว่าปลายขาบวก ไดโอดเปล่งแสงแบ่งออกเป็นสองชนิดคือ แสงที่ตาคนมองเห็นและแสงที่ตาคนมองไม่เห็น
ไดโอดเปล่งแสง ชนิดแสงที่ตาคนมองเห็นมี 4 สี คือ สีน้ำเงิน สีแดง สีเขียวและสีเหลือง
หรือบางครั้งออกสีส้ม ไดโอดชนิดนี้เราเรียกว่า Light Emitting Diode (LED)
ไดโอดเปล่งแสง ชนิดแสงที่ตาคนมองไม่เห็น เป็นไดโอดที่ใช้แสงที่อยู่ในย่าน Infrared ซึ่งในขณะที่เปล่งแสงออกมาตาคนเราจะมองไม่เห็น ไดโอดเปล่งแสงชนิดนี้
เราเรียกว่า Infrared Emitting Diode (IRED) แต่คนส่วนใหญ่มักเรียกรวมกันว่าไดโอดเปล่งแสง หรือ LED
แสงที่เปล่งจากไดโอดเปล่งแสงจะมีสีแตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเนื้อสารกึ่งตัวนำที่นำมาใช้ผลิต เช่น
1. สารแกลเลียมอาร์ซีไนด์ (GaAs) จะเปล่งแสง Infrared ออกมา
2. สารแกลเลียมอาร์ซีไนด์ฟอสไฟด์(GaAsP) จะเปล่งแสง สีแดงและสีเหลืองออกมา
3. สารแกลเลียมฟอสไฟด์(GaP) จะเปล่งแสง สีแดงและสีเขียว ออกมา
ตัวเลขและตัวหนังสือเรืองแสง ที่เห็นบนหน้าปัดนาฬิกา บนหน้าจอเครื่องเล่นวิทยุเทป บนหน้าจอเครื่องคิดเลขหรือในอุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดอื่นๆล้วนเกิดจากการทำงานของ ไดโอด
เปล่งแสง ทั้งสิ้น
การต่อไดโอดในวงจร
การต่อไดโอดในวงจรจะต้องต่อแบบ ไบอัสตาม ถ้าต่อแบบไบอัสกลับกระแสไฟฟ้าจะไม่สามารถไหลผ่านไดโอดได้
การต่อแบบ ไบอัสตาม ไดโอดจะยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านได้ทิศทางเดียว คือเข้าทางขั้วแอโนด หรือขั้ว P (+) และออกทางขั้ว แคโทด หรือขั้ว N (-) เท่านั้น
รูปการต่อไดโอดแบบไบอัสตาม
รูปการต่อไดโอดแบบไบอัสกลับ