วันที่: 2013-07-24 08:48:03.0view 2631reply 1
ขอรบกวนท่านผู้รู้หน่อยค่ะคืออยากทราบค่ะว่า ตู้ MDB , MCB , MCCB เป็นตู้ประเภทไหน ย่อมาจากอะไร แล้วใช้งานต่างกันอย่างไร ขอบคุณมากค่ะ วางแผนจะใช้งานที่บ้านค่ะ เป็นโรงงานเล็กๆ ค่ะ |
Previous | ตู้ไฟ |
ต่อไป | บิดาแห่งไฟฟ้า |
วันที่: Tue Nov 19 17:40:16 ICT 2024
|
|
|
ครับเท่าที่หมอไฟจะค้นคว้าหามาได้จากผู้รู้และปรมาจารย์ทางด้านไฟฟ้ามาตอบน้องเมย์เพื่อพอให้คลายความสงสัยในระดับหนึ่ง ส่วนรูปภาพประกอบขอเวลารวบรวมสักระยะหนึ่ง จะลงรายละเอียดให้ได้ชมอีกรอบครับ ว่าด้วยตู้ MDB ก่อน (Main Distribution Board) หรือเรียกว่า ตู้สวิทช์บอร์ดเป็นแผงวงจรควบคุมการจ่ายไฟฟ้าขนาดใหญ่ นิยมใช้ในอาคารขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่ ไปจนถึงโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการใช้ไฟฟ้ามาก โดยรับไฟจาก การไฟฟ้าหรือด้านแรงต่ำ ของ หม้อแปลง แล้วจ่ายโหลดไปยังแผงย่อยตามส่วนต่าง ๆ ของอาคาร
ส่วนประกอบหลักของสวิทช์บอร์ด
1. โครงตู้ (Enclosure)
2. บัสบาร์ (Busbar)
3. เซอร์กิตเบรกเกอร์ (Circuit Breaker)
4. เครื่องวัดไฟฟ้า (Meter)
5. อุปกรณ์ประกอบ (Accessories)
อุปกรณ์ประกอบในตู้สวิทช์บอร์ดมี เช่น
1. Current Transformer (CT) สำหรับตู้สวิตช์บอร์ด
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ประกอบในการวัดกระแสไฟฟ้าโดยต่อร่วมกับแอมมิเตอร์ CT ที่มีใช้ในท้องตลาดจะมี 2 กลุ่ม คือ อัตราส่วนต่อ 1 และอัตราส่วนต่อ 5 ที่ใช้ในตู้สวิทช์บอร์ดนิยมใช้อัตราส่วนต่อ 5 เช่น 50/5, 100/5, 300/5 เป็นต้น ปกติจะเลือก CT ตาม ขนาดของเมนเบรกเกอร์ โดยเลือกไม่ต่ำกว่า พิกัดของเมนเบรกเกอร์เช่น เมนเบรกเกอร์ที่มีขนาด 100A. ก็จะเลือก CT ขนาด100/5A. ข้อควรระวังในการใช้ CT คือ ห้าม เปิดวงจรด้าน
Secondary ของ CT เนื่องจากจะเกิดแรงดันสูงตกคร่อมขดลวด อาจทำให้ CT ไหม้ได้ หากไม่ได้ใช้งานจะต้องลัดวงจรขั้วทั้งสองของ CT เสมอ.
2. Selector Switch สำหรับตู้สวิตช์บอร์ด
โดยทั่วไป Ammeter Selector Switch จะใช้ร่วมกับ CT และ Panel Ammeter เพื่อวัดกระแสในตู้สวิทช์บอร์ด ส่วน Voltmeter Selector Switch จะใช้ร่วมกับ Panel Voltmeter เพื่อวัดแรงดันภายในตู้ การต่อวงจรให้ดูจากไดอะแกรมที่มาพร้อมกับอุปกรณ์ เพราะแต่ละยี่ห้อ ก็อาจมีวิธีการ ต่อที่แตกต่างกัน
3. Pilot Lamp สำหรับตู้สวิตช์บอร์ด
เป็นหลอดที่แสดงถึงสถานการทำงาน เพื่อบอกให้รู้ว่ามีไฟจ่ายเข้ามายังตู้สวิทช์บอร์ดหรือไม่ Pilot Lamp มี 2 แบบ คือ
3.1 แบบมีหม้อแปลงแรงดัน
3.2 แบบไม่มีหม้อแปลงแรงดัน
แบบมีหม้อแปลงแรงดันจะลดแรงดันให้ต่ำลง เพื่อให้เหมาะสมกับแรงดันหลอด เช่น 220/6.3V. เป็นต้น
4. Fuse สำหรับตู้สวิตช์บอร์ด
ฟิวส์ปกติโดยส่วนใหญ่จะเป็นหลอดแก้ว ใช้ป้องกันวงจรเครื่องวัดไฟฟ้าและหลอด Pilot Lamp
5. ฉนวนรองบัสบาร์ สำหรับตู้สวิตช์บอร์ด
เป็นฉนวนรองรับบัสบาร์ โดยด้านหนึ่งยึดติดกับโครงตู้สวิทช์บอร์ด อีกด้านหนึ่งยึดบัสบาร์ไว้มีหลายชนิดให้เลือกใช้ให้เหมาะสมกับบัสบาร์แต่ละแบบ
ส่วน MCB( Main Circuit Breaker) เป็นอุปกรณ์ป้องกันกระแสเกินและสามารถปลดวงจรขณะมีการจ่ายไฟได้
ส่วน MCCB (Molded Case Circuit Breaker) เซอร์กิตเบรกเกอร์
สำหรับสวิทช์บอร์ดแรงต่ำ เบรกเกอร์ที่ใช้ทั่วไป มี 2 แบบ คือ Air Circuit Breaker และ Mold Case Circuit Breaker โดย Air Circuit Breaker. ใช้เป็น เมนเบรกเกอร์ในวงจรที่ใช้กระแสสูง
ส่วน Mold Case Circuit Breaker (MCCB) ใช้กับวงจรย่อย หรือใช้เป็นเมนเบรกเกอร์ในตู้สวิทช์บอร์ดขนาดเล็ก ทั้งนี้ การเลือกเบรกเกอร์ ควรพิจารณาขนาดความกว้าง ยาว สูง เพื่อให้ติดตั้งในตู้ได้อย่างเหมาะสมสวยงาม.